การบำบัดพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด

การบำบัดพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด(อังกฤษ: Cognitive emotional behavioral therapy ตัวย่อ CEBT)เป็นการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) แบบยาวมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลให้ประเมินเหตุของความทุกข์ทางอารมณ์ของตน และดังนั้นช่วยลดการรับมือปัญหาแบบใช้ไม่ได้ (dysfunctional coping) รวมทั้งพฤติกรรมการรับประทานแบบกินดะ กินแล้วอาเจียน การจำกัดอาหาร และการใช้สารเสพติดการแทรกแซงโดยจิตบำบัดวิธีนี้สืบมาจากแบบจำลองและเทคนิคต่าง ๆ มากมายรวมทั้งพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT) การเจริญสติ (mindfulness meditation) และการบำบัดด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) และการฝึกประสบการณ์แบบต่าง ๆCEBT ใช้โดยหลักกับบุคคลที่ผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) โดยให้เป็นการบำบัดทางเลือกเมื่อ CBT ธรรมดาไม่ประสบผลในการทุเลาอาการ[1]ผลงานวิจัยแสดงว่า CEBT อาจช่วยลดการรับประทานตามอารมณ์ ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และช่วยเพิ่มความนับถือตน/ความภูมิใจในตน (self-esteem)[2]เป็นวิธีการที่นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ดร. เอ็มมา เกรย์ พัฒนาขึ้นในปี 2549[3]องค์ประกอบสำคัญรวมทั้งการให้การศึกษาทางจิตวิทยาเทคนิคที่ช่วยเพิ่มความสำนึกทางอารมณ์กับเพิ่มแรงบันดาลใจเพื่อเปลี่ยนตัวเองและกลยุทธ์ในการเปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับประสบการณ์และการแสดงออกทางอารมณ์แม้ว่า CEBT เบื้องต้นจะพัฒนาเพื่อช่วยบุคคลที่ผิดปกติทางการรับประทาน โปรแกรมมีประสิทธิผลช่วยให้เข้าใจและบริหารอารมณ์ของตนได้ดีขึ้น นักจิตวิทยาจึงได้ใช้เป็นการรักษาเตรียมตัว (pretreatment) เพื่อเตรียมคนไข้ในกระบวนการรักษาปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความวิตกกังวล ความซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ซึ่งบ่อยครั้งสร้างปัญหาทางอารมณ์

ใกล้เคียง